ข่าว

21 ธันวาคม 2555

ดาวเทียม IKONOS


 


ดาวเทียม IKONOS ถูกปล่อยขึ้นสู่วงโคจรในอวกาศเมื่อวันที่ 24 เดือนกันยายน พ.ศ. 2542 ณ ฐานทัพอากาศ Vandenberg รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติเชิงพาณิชย์ดวงแรกของโลก ที่เก็บข้อมูลภาพถ่ายซึ่งมีความละเอียดสูง
น้ำหนัก
726 กิโลกรัม
ความสูงของการโคจร
681 กิโลเมตร
ลักษณะการโคจร
สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์โดยผ่านขั้วโลก
เอียงทำมุมกับแกนโลก
98.1 องศา
เวลาท้องถิ่นในการบันทึกข้อมูล
10:30 น.
เวลาในการโคจรรอบโลก 1 รอบ
98.33 นาที
บันทึกข้อมูลซ้ำที่เดิม
2.9 วัน ที่ความละเอียดภาพ 1เมตร
1.5 วัน ที่ความละเอียดภาพ1.5 เมตร
ค่านี้เป็นค่าของวัตถุเป็าหมายที่ 40 องศา ละติจูด
ความถี่ในการโคจรกลับซ้ำที่เดิมจะมากขึ้นเมื่อละติจูดสูงขึ้น
และน้อยลงเมื่อละติจูดเข้าใกล้เส้นศูนย์สูตร
ระบบบันทึกข้อมูล
Panchromatic & Multispectral
รายละเอียดภาพ
1- เมตร panchromatic (< 26 องศา off nadir),
และ 0.82 เมตร ที่ nadir
4 - เมตร multispectral (< 26 องศา off nadir),
และ3.2 เมตร ที่nadir
ความกว้างของภาพ
11กิโลเมตร
อายุการใช้งาน
7 ปี
ความยาวคลื่น (ไมโครเมตร)
ประเภทข้อมูลที่ได้
ระบบ Panchromatic รายละเอียดภาพ 1 เมตร
PAN : 0.45 - 0.90 (น้ำเงินเขียว)
สิ่งก่อสร้าง, เส้นทางคมนาคม



ระบบ Multspectral รายละเอียดภาพ 4 เมตร
แบนด์ 1 : 0.445 - 0.516 (น้ำเงิน)
ตรวจสอบลักษณะน้ำชายฝั่ง, แยกพืชและสภาพความเขียว
แบนด์ 2 : 0.506 - 0.595 (เขียว)
แยกชนิดพืช
แบนด์ 3 : 0.632 - 0.698 (แดง)
ความแตกต่างของการดูดกลืนคลอโรฟีลล์ในพืชพรรณต่าง ๆ
แบนด์ 4 : 0.757 - 0.852 (อินฟราเรดใกล้)
ความแตกต่างของน้ำและส่วนที่ไม่ใช่น้ำ,ปริมาณ มวลชีวะ

 

20 ธันวาคม 2555

ดาวเทียม GeoEye 1




ดาวเทียม GeoEye 1
 
 
 
ความสูงของการโคจร
684 กิโลเมตร
ลักษณะการโคจร
สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์โดยผ่านขั้วโลก
เอียงทำมุมกับแกนโลก
98.1 องศา
เวลาท้องถิ่นในการบันทึกข้อมูล
10:30 น.
เวลาในการโคจรรอบโลก 1 รอบ
98 นาที
บันทึกข้อมูลซ้ำที่เดิม
ทุก 1 - 3 วัน
ระบบบันทึกข้อมูล
Panchromatic & Multispectral
รายละเอียดภาพ
0.41 เมตร (Panchromatic)
1.65 เมตร (Multispectral)
ความกว้างของภาพ
15 กิโลเมตร
ความยาวคลื่น (ไมโครเมตร)
ระบบ Panchromatic รายละเอียดภาพ 0.41 เมตร
PAN : 0.45 - 0.80 (น้ำเงินเขียว)




ระบบ Multspectral รายละเอียดภาพ 1.65 เมตร
แบนด์ 1 : 0.40 - 0.510 (น้ำเงิน)
แบนด์ 2 : 0.510 - 0.580 (เขียว)
แบนด์ 3 : 0.655 - 0.690 (แดง)
แบนด์ 4 : 0.780 - 0.920 (อินฟราเรดใกล้)

ที่มา : http://www.gistda.or.th/gistda_n/index.php/service/144

14 พฤศจิกายน 2555

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี




ตัวอย่างแผนที่ใช้ในการแบ่งโซนอาศัย สร้างโดยใช้ระบบจีไอเอส โดยโปรแกรม ชื่อ อาร์คจีไอเอส (ArcGIS)
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) คือ กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลเชิงพื้นที่ (spatial data) ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยการกำหนดข้อมูลเชิงบรรยายหรือข้อมูลคุณลักษณะ (attribute data) และสารสนเทศ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ (spatial data) เช่น ตำแหน่งบ้าน ถนน แม่น้ำ เป็นต้น ในรูปของ ตารางข้อมูล และ ฐานข้อมูล
ระบบ GIS ประกอบไปด้วยชุดของเครื่องมือที่มีความสามารถในการเก็บรวบรวม ปรับปรุงและการสืบค้นข้อมูล เพื่อจัดเตรียม ปรับแต่ง วิเคราะห์และการแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS ให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับช่วงเวลาได้ เช่น
ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปล สื่อความหมาย และนำไปใช้งานได้ง่าย
ข้อมูลใน GIS ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย สามารถอ้างอิงถึงตำแหน่งที่มีอยู่จริงบนพื้นโลกได้โดยอาศัยระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ (geocode) ซึ่งจะสามารถอ้างอิงได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ข้อมูลใน GIS ที่อ้างอิงกับพื้นผิวโลกโดยตรง หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าพิกัดหรือมีตำแหน่งจริงบนพื้นโลกหรือในแผนที่ เช่น ตำแหน่งอาคาร ถนน ฯลฯ สำหรับข้อมูล GIS ที่จะอ้างอิงกับข้อมูลบนพื้นโลกได้โดยทางอ้อมได้แก่ ข้อมูลของบ้าน (รวมถึงบ้านเลขที่ ซอย เขต แขวง จังหวัด และรหัสไปรษณีย์) โดยจากข้อมูลที่อยู่ เราสามารถทราบได้ว่าบ้านหลังนี้มีตำแหน่งอยู่ ณ ที่ใดบนพื้นโลก เนื่องจากบ้านทุกหลังจะมีที่อยู่ไม่ซ้ำกัน

เนื้อหา

องค์ประกอบของ GIS

องค์ประกอบหลักของระบบ GIS จัดแบ่งออกเป็น 5 ส่วนใหญ่ ๆ คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (hardware) โปรแกรม (software) ขั้นตอนการทำงาน (methods) ข้อมูล (data) และบุคลากร (people) โดยมีรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบดังต่อไปนี้
  1. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์รวมไปถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ เช่น ดิจิไทเซอร์ สแกนเนอร์ เครื่องพิมพ์ หรืออื่น ๆ เพื่อใช้ในการนำเข้าข้อมูล ประมวลผล แสดงผล และผลิตผลลัพธ์ของการทำงาน
  2. โปรแกรม คือชุดของคำสั่งสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Arc/Info, MapInfo ฯลฯ ซึ่งประกอบด้วยฟังก์ชัน การทำงานและเครื่องมือที่จำเป็นต่าง ๆ สำหรับนำเข้าและปรับแต่งข้อมูล, จัดการระบบฐานข้อมูล, เรียกค้น, วิเคราะห์ และ จำลองภาพ
  3. ข้อมูล คือข้อมูลต่าง ๆ ที่จะใช้ในระบบ GIS และถูกจัดเก็บในรูปแบบของฐานข้อมูล โดยได้รับการดูแลจากระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS ข้อมูลจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญรองลงมาจากบุคลากร
  4. บุคลากร คือ ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เช่น ผู้นำเข้าข้อมูล ช่างเทคนิค ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญสำหรับวิเคราะห์ข้อมูล ผู้บริหารซึ่งต้องใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ บุคลากรจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบ GIS เนื่องจากถ้าขาดบุคลากร ข้อมูลที่มีอยู่มากมายมหาศาลนั้น ก็จะเป็นเพียงขยะไม่มีคุณค่าใดเลยเพราะไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน อาจจะกล่าวได้ว่า ถ้าขาดบุคลากรก็จะไม่มีระบบ GIS
  5. วิธีการหรือขั้นตอนการทำงาน คือวิธีการที่องค์กรนั้น ๆ นำเอาระบบ GIS ไปใช้งานโดยแต่ละ ระบบแต่ละองค์กรย่อมีความแตกต่างกันออกไป ฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานต้องเลือกวิธีการในการจัดการกับปัญหาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับของหน่วยงานนั้น ๆ เอง

GIS ทำงานอย่างไร

ภาระหน้าที่หลัก ๆ ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มีอยู่ด้วยกัน 5 อย่างดังนี้
  1. การนำเข้าข้อมูล (input) ก่อนที่ข้อมูลทางภูมิศาสตร์จะถูกใช้งานได้ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ข้อมูลจะต้องได้รับการแปลง ให้มาอยู่ในรูปแบบของข้อมูล เชิงตัวเลข (digital format) เสียก่อน เช่น จากแผนที่กระดาษไปสู่ข้อมูลใน รูปแบบดิจิตอลหรือแฟ้มข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ที่ใช้ในการนำเข้าเช่น Digitizer Scanner หรือ Keyboard เป็นต้น
  2. การปรับแต่งข้อมูล (manipulation) ข้อมูลที่ได้รับเข้าสู่ระบบบางอย่างจำเป็นต้องได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมกับงาน เช่น ข้อมูลบางอย่างมีขนาด หรือสเกล (scale) ที่แตกต่างกัน หรือใช้ระบบพิกัดแผนที่ที่แตกต่างกัน ข้อมูลเหล่านี้จะต้องได้รับการปรับให้อยู่ใน ระดับเดียวกันเสียก่อน
  3. การบริหารข้อมูล (management) ระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS จะถูกนำมาใช้ในการบริหารข้อมูลเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพในระบบ GIS DBMS ที่ได้รับการเชื่อถือและนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุดคือ DBMS แบบ Relational หรือระบบจัดการฐานข้อมูลแบบสัมพัทธ์ (RDBMS) ซึ่งมีหลักการทำงานพื้นฐาน ดังนี้คือ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บ ในรูปของตารางหลาย ๆ ตาราง
  4. การเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล (query and analysis) เมื่อระบบ GIS มีความพร้อมในเรื่องของข้อมูลแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การนำข้อมูลเหล่านี่มาใช้ให้เกิด ประโยชน์ เช่น ใครคือเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินผืนที่ติดกับโรงเรียน? เมืองสองเมืองนี้มีระยะห่างกันกี่กิโลเมตร? ดินชนิดใดบ้างที่เหมาะสำหรับปลูกอ้อย? หรือ ต้องมีการสอบถามอย่างง่าย ๆ เช่น ชี้เมาส์ไปในบริเวณที่ต้องการแล้วเลือก (point and click) เพื่อสอบถามหรือเรียกค้นข้อมูล นอกจากนี้ระบบ GIS ยังมีเครื่องมือในการวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์เชิงประมาณค่า (proximity หรือ buffer) การวิเคราะห์เชิงซ้อน (overlay analysis) เป็นต้น
  5. การนำเสนอข้อมูล (visualization) จากการดำเนินการเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล ผลลัพธ์ที่ได้จะอยู่ในรูปของตัวเลขหรือตัวอักษร ซึ่งยากต่อการตีความหมายหรือทำความเข้าใจ การนำเสนอข้อมูลที่ดี เช่น การแสดงชาร์ต (chart) แบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ รูปภาพจากสถานที่จริง ภาพเคลื่อนไหว แผนที่ หรือแม้กระทั่งระบบมัลติมีเดีย สื่อต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้ผู้ใช้เข้าใจความหมายและมองภาพของผลลัพธ์ที่กำลังนำเสนอได้ดียิ่งขึ้นอีก

ลักษณะข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

โลกมีความสลับซับซ้อนมากเกินกว่าที่จะเก็บข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับโลกไว้ในรูปข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จึงต้องเปลี่ยนปรากฏการณ์บน ผิวโลกจัดเก็บในรูปของตัวเลขเชิงรหัส (digital form) โดยแทนปรากฏการณ์เหล่านั้นด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เรียกว่าฟีเจอร์ (feature)

ประเภทของฟีเจอร์

ประเภทของฟีเจอร์ของจีไอเอส ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นตัวแทนของปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์บนโลกแผนที่กระดาษบันทึกตำแหน่งทางภูมิศาสตร์และแทนสิ่งต่างๆ บนโลกที่เป็นลายเส้นและพื้นที่ด้วยสัญลักษณ์แบบ จุด เส้น พื้นที่และตัวอักษร ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะใช้ feature ประเภทต่างๆ ในการแทนปรากฏการณ์โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

เมทาเดตา ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

สารสนเทศภูมิศาสตร์-การอธิบายข้อมูล เป็นรูปแบบหรือแบบแผนของเมทาเดตาที่ใช้ในการอธิบายข้อมูลหรือกลุ่มของข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์หรือข้อมูลที่ได้จากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นอีกแบบแผนหนึ่งของการอธิบายซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยคณะกรรมการวิชาการชุดที่ 211 ขององค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศ หรือ ISO/TC211แบบแผนของเมทาเดตานี้ประกาศเป็นมาตรฐานระหว่างประเทศในปี ค.ศ. 2003 ภายใต้ชื่อมาตรฐาน ISO 19115: Geographic information-Metadata ประเทศไทยโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ซึ่งเป็นสมาชิกขององค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศดังกล่าว ได้นำมาประกาศใช้เป็นมาตรฐานของประเทศคือ มอก.19115-2548 "สารสนเทศภูมิศาสตร์-การอธิบายข้อมูล" โดยเนื้อหาและแบบแผนของเมทาเดตานั้นยังคงอ้างอิงฉบับภาษาอังกฤษเป็นหลัก ซึ่งการประกาศเป็นมาตรฐานในรูปแบบดังกล่าวเรียกว่า นำมาใช้ในระดับเหมือนกันทุกประการ (Identical)

การใช้งาน

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้กำหนดเค้าร่าง (schema) ที่ต้องการสำหรับการอธิบายสารสนเทศภูมิศาสตร์และการบริการ โดยให้สารสนเทศเกี่ยวกับการบ่งชี้ ขอบเขต คุณภาพ เค้าร่าง เชิงพื้นที่และเชิงเวลา การอ้างอิงเชิงพื้นที่ การเผยแพร่ของสารสนเทศภูมิศาสตร์เชิงเลข

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ที่มา :http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C

6 พฤศจิกายน 2555

Remote Sensing

 Remote Sensing






คำว่า รีโมทเซนซิ่ง (Remote Sensing) เป็นประโยคที่ประกอบขึ้นมาจากการรวม 2 คำ ซึ่งแยกออกได้ดังนี้ คือ Remote = ระยะไกล และ Sensing = การรับรู้ จากการรวมคำ 2 คำเข้าด้วยกัน คำว่า "Remote Sensing" จึงหมายถึง "การรับรู้จากระยะไกล" โดยนิยามความหมายนี้ได้กล่าวไว้ว่า “เป็นการสำรวจตรวจสอบคุณสมบัติสิ่งใดๆ ก็ตาม โดยที่มิได้สัมผัสกับสิ่งเหล่านั้นเลย”



ดังนั้นคำว่า "Remote Sensing" จึงมีความหมายที่นิยมเรียกอย่างหนึ่งว่า การสำรวจจากระยะไกล โดยความหมายรวม รีโมทเซนซิ่ง จึงจัดเป็นวิทยาศาสตร์ และศิลปะการได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุ พื้นที่ หรือปรากฏการณ์จากเครื่องมือบันทึกข้อมูล โดยปราศจากการเข้าไปสัมผัสวัตถุเป้าหมาย
ทั้งนี้ อาศัยคุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อในการได้มาของข้อมูลใน 3 ลักษณะ คือ


- คลื่นรังสี (Spectral)


- รูปทรงสัณฐานของวัตถุบนพื้นผิวโลก (Spatial)


- การเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา (Temporal)


ปัจจุบันข้อมูลด้านนี้ได้นำมาใช้ในการศึกษาและวิจัยอย่างแพร่หลาย เพราะให้ผลประโยชน์หลายประการ อาทิเช่น ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่ายในการสำรวจและเก็บข้อมูลมีความถูกต้อง และรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์


อย่างไรก็ตาม การรับรู้จากระยะไกลก็ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าโดยมีการประดิษฐ์ คิดค้นเครื่องมือรับสัญญาณที่มีประสิทธิภาพสูง เทคนิคที่นำมาใช้ในการแปลตีความ ก็ได้รับการพัฒนาควบคู่กันไปให้มีความถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็วยิ่งขึ้น จึงปรากฏว่ามีการนำข้อมูลทั้งภาพถ่ายทางอากาศ และ ภาพถ่ายดาวเทียม มาใช้ประโยชน์เพื่อสำรวจหาข้อมูลและทำแผนที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน













17 ตุลาคม 2555

RADASAT 1


  RADASAT 1
 

เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของประเทศแคนาดา องค์การอวกาศแคนาดา (Canadian Space Agency, CSA) ดำเนินการออกแบบ, ควบคุมการปฏิบัติงานของดาวเทียม และการรับสัญญาณจากดาวเทียมของสถานีรับภาคพื้นดินที่ Prince Albert เมือง Saskatchewan และ Gatineau เมือง Quebec. ส่งขึ้นสู่วงโคจรโดยจรวด McDonald Douglas Delta II 7920-10 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2538
ขนาดแผงรับสัญญาณเรดาร์
15 x 1.5 เมตร
น้ำหนัก
2,750 กิโลกรัม
ความสูงของการโคจร
798 กิโลเมตร
ลักษณะการโคจร
สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์โดยผ่านขั้วโลก
เอียงทำมุมกับแกนโลก
98.6 องศา
เวลาท้องถิ่นในการบันทึกข้อมูล
10:30 น.
เวลาในการโคจรรอบโลก 1 รอบ
100.7 นาที
จำนวนรอบของการโคจรใน 1 วัน
14 รอบ
บันทึกข้อมูลซ้ำที่เดิม
24 วัน
ระบบบันทึกข้อมูล
SAR (Synthetic Aperture Radar)
ช่วงคลื่น C-band ความยาวคลื่น 5.6 เซนติเมตร ที่ย่านความถี่ 5.3 กิกะเฮิร์ต
รายละเอียดภาพ
10 - 100 เมตร
ความกว้างของภาพ
50 - 500 กิโลเมตร
อายุการทำงานที่ค่ดหมาย
3 ปี
รูปแบบ (Mode)
ตำแหน่ง ลำคลื่นเรดาร์
มุมตกกระทบ (องศา)
รายละเอียกข้อมูล (เมตร)
ขนาดภาพ (กิโลเมตร)
จำนวนมุมมอง สำหรับผลิตภาพ
Fine (5 ตำแหน่ง)
F1
F2
F3
F4
F5
37-40
39-42
41-44
43-46
45-48
10
50 x 50
1 x 1
Standard
(7 ตำแหน่ง)
S1
S2
S3
S4
S5
S6
S7
20-27
24-31
30-37
34-40
36-42
41-46
45-49
30
100 x 100
1 x 4
Wide (3 ตำแหน่ง)
W1
W2
W3
20-31
31-39
39-45
30
165 x 165
150 x 150
130 x 130
1 x 4
ScanSAR
Narrow
(2 ตำแหน่ง)
SN1
SN2
20-40
31-46
50
300 x 300
2 x 2
ScanSAR Wide
SW1
20-50
100
500 x 500
2 x 4
Extended High
(6 ตำแหน่ง)
H1
H2
H3
H4
H5
H6
49-52
50-53
52-55
54-57
56-58
57-59
25
75 x 75
1 x 4
Extended Low
L1
10-23
35
170 x 170
1 x 4