ข่าว

6 มกราคม 2556

LANDSAT 7

LANDSAT 7
                                                                     

พัฒนาโดย 3 หน่วยงาน คือ NASA, NOAA และ USGS
NASA: รับผิดชอบด้านการพัฒนาตัวดาวเทียม, อุปกรณ์, จรวดส่งดาวเทียมและระบบควบคุมภาคพื้นดิน ตลอดจนการส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร, การตรวจสอบการโคจรและการปรับเทียบอุปกรณ์
NOAA: รับผิดชอบด้านระบบปฏิบัติการของดาวเทียมทั้งหมด ตลอดอายุการโคจร
USGS: รับผิดชอบด้านการรับสัญญาณข้อมูล, การผลิตข้อมูล, การเก็บรักษาข้อมูล และการแจกจ่ายข้อมูล
ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรโดยจรวด McDonald Douglas Delta II จากฐานทัพอากาศ Vandenberg, California เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2542

 
เส้นผ่าศูนย์กลาง
1.8 เมตร
น้ำหนัก
2,150 กิโลกรัม
ความสูงของการโคจร
705 กิโลเมตร
ลักษณะการโคจร
สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์โดยผ่านขั้วโลก
เอียงทำมุมกับแกนโลก
98.2 องศา
เวลาท้องถิ่นในการบันทึกข้อมูล
10:00 น.
เวลาในการโคจรรอบโลก 1 รอบ
98.9 นาที
จำนวนรอบของการโคจรใน 1 วัน
14.5 รอบ
บันทึกข้อมูลซ้ำที่เดิม
ทุก 16 วัน
ระบบบันทึกข้อมูล
ETM+ (Enhanced Thermatic Mapper Plus)
รายละเอียดภาพ
30, 60 (อินฟราเรดความร้อน) และ 15 (PAN) เมตร
ความกว้างของภาพ
185 กิโลเมตร
อายุการทำงานที่คาดหมาย
5 ปี
ความยาวคลื่น (ไมโครเมตร)
ประเภทข้อมูลที่ได้
ระบบ Enhanced Thermatic Mapper Plus (ETM+)
แบนด์ 1 : แบนด์ 1 : 0.450-0.515 (น้ำเงิน-เขียว)
ตรวจสอบลักษณะน้ำชายฝั่ง,
แยกพืชและสภาพความเขียว
แบนด์ 2 : 0.525-0.605 (เขียว)
แยกชนิดพืช
แบนด์ 3 : 0.630-0.690 (แดง)
ความแตกต่างของการดูดกลืนคลอโรฟีลล์ในพืชพรรณต่าง ๆ
แบนด์ 4 : 0.775-0.900 (อินฟราเรดใกล้)
ความแตกต่างของน้ำและส่วนที่ไม่ใช่น้ำ,
ปริมาณ มวลชีวะ
แบนด์ 5 : 1.550 - 1.750 (อินฟราเรดคลื่นสั้น)
พืช, ความชื้นในดิน,
แยกความแตกต่างเมฆและหิมะ
แบนด์ 6 : 10.40 - 12.50 (อินฟราเรดความร้อน)
ความร้อนผิวหน้า, ความชื้นของดิน,
ความเครียดของพืช
แบนด์ 7 : 2.090 - 2.350 (อินฟราเรดสะท้อน)
แยกชนิดหิน
PAN : 0.520-0.900 (สีเขียว-อินฟราเรดใกล้)
แหล่งชุมชน, สิ่งก่อสร้าง, เส้นทางคมนาคม